กิจกรรม 13-17 ธันวาคม 2553



ข้อ 4
อธิบาย

      โครมาทินใช้เรียกขณะ โครโมโซมอยู่ในระยะอินเตอร์เฟส หรือ ปลายระยะเทโลเฟส ค่ะ ซึ่งหมายถึงลักษณะของโครโมโซมที่ยังไม่ขดตัวจนมีรูปร่างเป็นแท่งชัดเจน

เมื่อเข้าสู่ระยะ prophase โครโมโซม(โครมาทิน) จะขดตัวเป็นแท่งมีรูปร่างคล้ายกากบาท เราเรียกว่าแท่งโครโมโซม ซึ่ง
โครโมโซมที่มีลักษณะเป็นกากบาทนี้ มี 2 แขน แขนของโครโมโซมเราเรียกว่า "โครมาทิด" (ดังนั้นในระยะโปรเฟสเราจึงเห็น 1 โครโมโซมจะมี 2 โครมาทิด) แต่เมื่อเข้าสู่ระยะแอนนาเฟส แต่ละโครมาทิด หรือแต่ละแขนจะแยกออกจากกันไปแต่ละด้านของขั้วเซลล์ ทำให้ระยะนี้เห็น 1 โครโมโซมมีแค่ 1 โครมาทิด

สรุปนะค่ะ โครมาทิน และ โครมาทิดต่างก็เป็นโครโมโซมเหมือนกัน แต่โครมาทินคือ โครโมโซมที่ยังไม่ขดตัวเป็นแท่ง ส่วนโครมาทิดคือแต่ละแขนของโครโมโซมที่ขดตัวเป็นแท่งแล้ว
     
          ที่มา   http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=63a9f0ef4dd948d6&pli=1



ข้อ 2
อธิบาย

      จีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมเป็นผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (เทคนิกการตัดต่อยีน) ในพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ เช่น ต้านทานแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมหรือเพิ่มสารโภชนาการบางชนิด เช่น วิตามิน การพิจารณาว่าจีเอ็มโอปลอดภัยต่อผู้บริโภคและ/หรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้น จะต้องผ่านการทดสอบหลายด้านเพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรม และมีบทบาทในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป และก่อนที่ผู้ลิตรายใดจะนำจีเอ็มโอ หรือผลผลิตจากจีเอ็มโอแต่ละชนิดออกไปสู่ผู้บริโภคได้นั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอทุกชนิด ทั้งที่นำมาบริโภคเป็นอาหาร หรือนำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ มีความปลอดภัย    ที่มา   http://www.pramot.com/gmo/gmoques.html




ข้อ 2
อธิบาย
    

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กุญแจสำคัญที่มีบทบาทควบคุมกระบวนการเมตาโบลิซึมของ
ร่างกายสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คือ กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) หรือ
DNA
พันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอด
ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง หรือ
จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน
อัลลีน (Allele) หรือ Allelomorps หมายถึง ยีน 2 ยีนซึ่งอยู่ตำ
แหน่งเดียวกันบนโครโมโซมคู่เหมือนกันโดยควบคุมลักษณะ
เดียวกัน ถ้ามี gene เหมือนกันเรียกว่าพันธุ์แท้ (homozygous)
ถ้ามี gene ไม่เหมือนอยู่ด้วยกัน เรียกว่าพันธุ์ทาง (heterozygous)
จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง ชุดของ gene ที่มาเข้าคู่กัน
ซึ่งสิ่งมีชีวิตได้รับมาจากพ่อและแม่ ฟีโนไทป์ (Phenotype) หมายถึง ลักษณะต่าง ๆ ที่สามารถ
แสดงออกมาให้เห็นได้ เป็นผลมาจาก genotype และสิ่งแวด
ล้อม
ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (Complete deominance) หมายถึง
ลักษณะที่แสดงออก (phenotype) ที่ gene เด่นสามารถข่ม gene
ด้อยได้อย่างสมบูรณ์
ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ (Incomplete dominance) หมายถึง
การแสดงออกของลักษณะที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากลักษณะด้อยมี
อิทธิพลมากพอ สามารถแสดงลักษณะออกมาได้
Monohybrid cross หมายถึง การผสมพันธุ์โดยพิจารณาเพียง
ลักษณะเดียว แต่ถ้าเป็นการผสมพันธุ์โดยศึกษาหรือพิจารณาทั้ง
2 ลักษณะควบคู่กัน เรียกว่า Dihybrid cross
ลักษณะเด่นร่วม (Co-dominant) หมายถึง ลักษณะทาง
กรรมพันธุ์ที่ gene แต่ละตัวที่เป็นอัลลีล (allele) กัน มีลักษณะ
เด่นทั้งคู่ข่มกันไม่ลง จึงแสดงออกมาทั้ง 2 ลักษณะ เช่น กรรม
พันธุ์ของหมู่เลือด AB
Polygene หรือ Multiple gene หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์
ที่มียีน (gene) หลายคู่(มากกว่า 2 alleles) ที่ทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อ
ควบคุม phenotype อย่างเดียวกัน จึงทำให้เกิดลักษณะที่มีความ
แปรผันกันแบบต่อเนื่องคือลดหลั่นกันตามความเข้มของยีน เช่น
ลักษณะความสูงเตี้ยของคน จะมีตั้งแต่สูงมาก สูงปานกลาง
เตี้ย
Mutiple alleles หมายถึง ลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่ควบคุม
โดย alleles มากกว่า 2 alleles ขึ้นไป เช่น พันธุกรรมของหมู่
เลือด ABO ถูกควบคุมโดย alleles 3 alleles
Law of probability (กฎของความน่าจะเป็น)
"โอกาสในการเกิดลักษณะใดลักษณะหนึ่งจะเท่ากับผลคูณของ
โอกาสแต่ละโอกาสเหล่านั้น เช่น โอกาสในการเกิดบุตรเพศ
ชาย x โอกาสมีบุตรลักษณะผิวเผือก
ตัวอย่าง สามี-ภรรยาคู่หนึ่งต่างมีลักษณะ heterozygous
ของผิวเผือก โอกาสที่สามี-ภรรยา
- มีบุตรเป็นชาย-หญิง
- มีบุตรผิวเผือก
- มีบุตรหญิงผิวเผือก
- มีบุตรหญิงผิวปกติ
วิธีทำ กำหนดให้ A = gene ควบคุมผิวปกติ(ลักษณะเด่น)
a = gene ควบคุมผิวเผือก(ลักษณะด้อย)
สามี-ภรรยามีลักษณะพันธุ์ทาง (heterozygous)ของผิวเผือก
genotype จึงเป็น Aa
 
ผิวปกติ ผิวเผือก
สามี-ภรรยาคู่นี้มีโอกาสมีบุตรชาย - หญิง (เสมอ)
สามี-ภรรยาคู่นี้มีโอกาสมีบุตรผิวเผือก
สามี-ภรรยาคู่นี้มีโอกาสมีบุตรหญิงผิวเผือก
สามี-ภรรยาคู่นี้มีโอกาสมีบุตรหญิงผิวปกติ
ยีน เป็นหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมการถ่ายทอด และแสดง
ลักษณะของสิ่งมีชีวิต ยีนอยู่บนโครโมโซม ซึ่งอยู่ในส่วน
นิวเคลียสของเซลล์ โครโมโซมผิดปกติจะส่งผลให้ลักษณะ
ของสิ่งมีชีวิตผิดปกติไปด้วย
โครโมโซม คือ ร่างแหโครมาตินหรือร่างแหนิวเคลียสที่หดตัว
สั้นขณะที่เซลล์มีการแบ่งตัวและเป็นที่อยู่ของยีน
โครโมโซมประกอบด้วยโครมาติด 2 โครมาติด มีเซนโตเมียร์
(centromere) เป็นส่วนยึดให้โครมาติดทั้ง 2 ติดกัน
ร่างกายของคนมีโครโมโซม 46 เส้น คือ - ออโตโซม (autosome) คือ โครโมโซมที่เหมือนกันเป็นคู่ ๆ
มี 22 คู่
- โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ โครโมโซมที่มี
ลักษณะแตกต่างกันระหว่างเพศหญิงและเพศชาย
เพศชาย
มีออโตโซม 44 เส้น กับโครโมโซม x และโครโมโซม y คือ
22 + x กับ 22 + y
เพศหญิง
มีออโตโซม 44 เส้น กับโครโมโซม x อีกคู่หนึ่ง คือ 22 + x ความผิดปรกติของโครโมโซม
กลุ่มอาการคริดูชาด (Cri - du - chat syndrome)
โครโมโซมคู่ที่ 5 มีบางส่วนหายไป อาการนี้ทำให้เด็กไม่
เจริญเติบโต ศีรษะมีขนาดเล็ก หน้ากลม ใบหูต่ำ หาตาชี้ และอยู่
ห่างกัน ดั้งจมูกแบน ปัญญาอ่อน และมีเสียงร้องเหมือนแมว
กลุ่มอาการดาวน์ (Down's syndrome)
เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 เส้น อาการของกลุ่มนี้จะ
มีลักษณะคือ แรกเกิดตัวอ่อน ใบหน้าจะมีดั้งจมูกแฟบ นัยน์ตา
ห่าง หาตาชี้ ใบหูผิดรูป ปากปิดไม่สนิท ลิ้นใหญ่จุกปาก
ระหว่างนิ้วหัวแม่เท้า และนิ้วชี้มีช่วงกว้าง ปัญญาอ่อน บางรายมี
ความพิการของหัวใจและทางเดินอาหารทำให้เสียชีวิตได้

     ที่มา  http://www.bs.ac.th/lab2000/web_bio/panthu.htm



ข้อ 1
อธิบาย
      หลายท่านอาจยังไม่คุ้นหูกับคำว่า "ไบรโอไฟต์" แต่หากบอกว่า "มอสส์" บางท่านอาจจะพอนึกภาพออก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มอสส์จัดเป็นสมาชิกกลุ่มหนึ่งของไบรโอไฟต์เท่านั้น ดังนั้นเราลองมาทำความรู้จักกับไบรโอไฟต์กันให้มากยิ่งขึ้นกันดีกว่า    
มอสส์    
          ไบรโอไฟต์มักขึ้นในที่ร่มและชุ่มชื้น เช่น ก้อนหิน เปลือกไม้ พื้นดิน เป็นต้น แต่บางครั้งเราอาจพบไบรโอไฟต์ขึ้นอยู่บนวัตถุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ท่อน้ำพีวีซี พื้นซีเมนต์ ตุ๊กตาดินเผา เป็นต้น ไบรโอไฟต์เป็นพืชบกสีเขียวที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง ไม่มีดอก และไม่มีรากที่แท้จริง มีไรซอยด์ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการยึดเกาะ การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุสามารถเข้าสู่ภายในของต้นโดยผ่านเซลล์ได้ทุกเซลล์ ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ จึงได้นิยมนำไบรโอไฟต์มาใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (bioindicator) โดยเฉพาะเพื่อใช้ในการศึกษาผลกระทบทางด้านมลพิษในอากาศ เพราะไบรโอไฟต์สามารถดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง         
          ไบรโอไฟต์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ มอสส์ ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต ไบรโอไฟต์มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของป่าในด้านต่างๆ เช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นพืชบุกเบิกในธรรมชาติ ซึ่งช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าที่รกร้างและแห้งแล้ง ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ที่สำคัญเซลล์ของไบรโอไฟต์ มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับน้ำได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว สามารถดูดซับได้ถึง 200-500% ของน้ำหนักแห้ง พืชกลุ่มนี้จึงเปรียบเหมือนฟองน้ำของป่าที่ช่วยดูดซับน้ำให้กับผืนป่า ไบรโอไฟต์จึงนับว่าเป็นพืชตัวน้อยที่นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศป่าเป็นอย่างมากกลุ่มหนึ่ง       
           ปัจจุบันมีการนำไบรโอไฟต์มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เช่น นำมาจัดตู้ปลา จัดสวน หรือแม้แต่นำมาเป็นวัสดุช่วยปลูกกล้วยไม้ นอกจากนี้ยังมีการค้นคว้าวิจัยในการสกัดสารเคมีจากไบรโอไฟต์บางชนิด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น มอสส์สกุลข้าวตอกฤาษี (Sphagnum) สามารถรักษาอาการตกเลือดอย่างเฉียบพลัน และโรคที่เกี่ยวกับตา (Pant, 1998) สำหรับประเทศไทยการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศที่มีการปลูกไบรโอไฟต์เป็นสินค้าส่งออกสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมากมาย อย่างไรก็ตามเราทุกคนควรมีจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างดีตลอดไปด้วย
   ที่มา http://www.biotec.or.th/brt/index.php?option=com_content&view=article&id=132:bryophyte-suntree&catid=58:plant&Itemid=52





ข้อ 1
อธิบาย


ไวรัสไข้หวัดนกหรือไวรัสสายพันธุ์ H5N1
ไวรัสไข้หวัดนกที่ระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2004 มีชื่อเรียกว่า A/Chicken/Nakorn-Pathom/Thailand/CU-K2/04 (H5N1) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีลักษณะก่อให้เกิดโรครุนแรง จัดเป็นชนิด highly pathogenic AI (HPAI) ซึ่งเชื้อที่แยกได้จากไก่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับไวรัสไข้หวัดนกที่แยกเชื้อได้จากเป็ดในการระบาดที่ประเทศจีนเมื่อปี 2003 มากที่สุด A/Duck/China/E319.2/03 (H5N1) จากการศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัส พบว่ามี 20-codon deletion ในยีน neuraminidase และ 5-codon deletion ในยีน NS รวมทั้งพบ polymorphisms ของยีน M2 และยีน PB2 อีกด้วย
ไข้หวัดนกเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ปีก แตกต่างที่ส่วนประกอบที่ผิวของไวรัส คือ ฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสเป็นคนละชนิดที่ทำให้เกิดโรคในคน เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคน ฮีแมกกลูตินินจะเป็น H1 หรือ H2 หรือ H3 แต่ของนกมีตั้งแต่ H1 ถึง H15 ส่วนนิวรามินิเดสของคนมีแต่ชนิด N1 และ N2 ส่วนของนกมีตั้งแต่ N1-N9 เชื้อไข้หวัดใหญ่ของคนที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน คือ Influenza A ชนิด H1N1, H1N2, H3N2 และ Influenza B ส่วนเชื้อที่มาจากนกและสร้างปัญหาให้แก่ประเทศไทยคือ Influenza A H5N1
สำหรับหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากมีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนด
หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ไว้ว่าจะต้องมีข้อมูลดังนี้
1.บอก type ว่าเป็น type A, B หรือ C
2.ชนิดของสัตว์ที่แยกเชื้อไวรัสได้ ถ้าแยกได้จากมนุษย์ไม่ต้องบอก
3.สถานที่แยกเชื้อไวรัสได้ มักเป็นชื่อเมืองหรือประเทศ
4.ลำดับของเชื้อที่แยกได้ในปีนั้น
5.ปี ค.ศ. ที่แยกเชื้อไวรัสได้
6.ถ้าเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ type A จะต้องบอก subtype ของ H และ N ด้วย


     ที่มา   http://bhumibol.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C_H5N1

2 ความคิดเห็น:

  1. ...ประเมินตัวเองนะคะ...
    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5. ลงคะแนนเต็ม150 คเเนน ได้คะเเนน 145 คะเเนน

    ตอบลบ
  2. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้

    1.ทำครบตามที่กำหนดข้อละ 2 คะแนน
    2.มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3.บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน
    4.วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็น


    รวมคะแนนเต็ม 150 คะแนน
    ให้คะแนนธิดาทิพย์ 140 คะแนน

    ตอบลบ