กิจกรรม 8 พฤศจิกายน 2553

  ส่งงาน  
     ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อสอบข้อ 1 - 5 โดย save โจทย์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และนำไปลงในบทความบน Blog ของผู้เรียน
 

อธิบาย    3










1. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane )              มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆประกอบด้วยโปรตีนและไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมเซลล์ให้คงรูปอยู่ได้และทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารบางอย่าง เช่น น้ำ อากาศ และสารละลายต่างๆ

2. ไซโตรพลาสซึม (
Cytoplasm)

               มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีสิ่งต่างๆปนอยู่  เช่น ส่วนประกอบอื่นๆเซลล์ อาหารซึ่งได้แก่ น้ำตาล   ไขมัน  โปรตีน และของเสีย

3.
 นิวเคลียส ( Nucleus )               มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ                           -  นิวคลีโอลัส   ( Nucleolus )  ประกอบไปด้วยสารพันธุกรรม DNA และ RNA มีการสร้างโปรตีนให้แก่เซลล์และส่งออกไปใช้นอกเซลล์                           -  โครมาติน (Chromatin)  คือ ร่างแหของโครโมโซม โครโมโซมประกอบด้วย DNA หรือยีน ( Gene) โปรตีนหลายชนิดทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีน  DNA เป็นตัวควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต  โดยการควบคุมโครงสร้างของโปรตีนให้ได้ คุณภาพและปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม

  ที่มา: http://www.thaiblogonline.com/student.blog?PostID=3218









อธิบาย 4
ไตของคนทำหน้าที่ดังนี้
    1. 1.  ทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสียซึ่งเกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม
    2. 2.  เก็บสารบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
    3. 3.  ความคุมสมดุลน้ำและแร่ธาตุให้เป็นปกติ
    4. 4.  ควบคุมความเป็นกรด-เบสของของเหลว
            หน่วยไตแต่ละหน่วยทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือด ซึ่งเลือดจาเซลล์ต่างๆทั่วร่างกายมีสารที่เป็นของเสียจากเมแทบอลิซึมจะเข้าสู่ไตทางเส้นเลือดรีนัลอาร์เทอรี(renal artery) เส้นเลือดนี้จะแตกแขนงนำเลือดเข้าสู่โกลเมอรูลัสที่อยู่ในโบว์แมนส์แคปซูล ผนังของเส้นเลือดฝอยของโกลเมอรูลัสทำหน้าที่เป็นเยื่อกรองให้สารบางอย่างจากโกลเมอรูลัสเข้าสู่โบว์แมนส์แคปซูลและเข้าสู่ท่อหน่วยไตตามลำดับ แรงดันของเลือดทำให้น้ำเลือดสามารถลอดผ่านผนังเส้นเลือดฝอยที่โกลเมอรูลัสได้ ของเหลวที่กรองได้ (glomerular filtrate) จะไหลไปตามท่อของหน่วยไตและมีการดูดสารที่มีประโยชน์ เช่น กลูโคส กรดอะมิโน โซเดียมไอออน น้ำ กลับคืนสู่เส้นเลือดฝอยที่หน่วยไต กระบวนการดูดกลับมีทั้งที่ไม่ต้องใช้พลังงาน เช่น น้ำ กลูโคส กระอะมิโน และต้องใช้พลังงาน เช่น แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายจะถูกดูดกลับเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยกระบวนการแอคทีฟทรานสปอร์ต ส่วนสารที่เหลือจะปะปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ การทำงานนี้ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนแอลโดสเทอโรน(aldosterone) จากต่อมหมวกไต




  ที่มา:  http://tc.mengrai.ac.th/rungrat/123/bio/lesson2.htm




อธิบาย 2
         เมื่อกินเหล้าเข้าไปผ่านกระเพาะอาหารไปสู่ลำไส้เล็ก แอลกอฮอล์ในเหล้าจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตและกระจายไปทั่วร่างกาย เมื่อกินอาหารมาก่อน แอลกอฮอล์ใช้เวลา 1 ถึง6 ชั่วโมง จึงจะถูกดูดซึมไปถึงระดับสูงสุดในเลือด แต่ถ้ากินเหล้าในขณะที่ท้องว่าง แอลกอฮอล์ใช้เวลาถูกดูดซึมสู่ ระดับสูงสุดในเลือด เพียง 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง แอลกอฮอล์ในร่างกายถูกกำจัดโดยตับเป็นส่วนใหญ่ (95 เปอร์เซ็นต์) ที่เหลือถูกขับออกทางลมหายใจ ปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ น้ำนม และน้ำลาย
แอลกอฮอล์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เกิดการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย แอลกอฮอล์ในปริมาณมากทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดอาการอักเสบและเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ แอลกอฮอล์ยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ผู้ที่กินเหล้าจึงปัสสาวะบ่อย สูญเสียน้ำและรู้สึกกระหายน้ำมากในเวลาต่อมา อีกประการหนึ่ง บรรยากาศวงเหล้า ผนวกกับพลังงานที่ได้จากเหล้ามักทำให้ผู้ดื่มไม่รู้สึกอยากอาหาร ดังนั้นผู้ที่กินเหล้าเป็นนิจจึงอาจขาดสารอาหารได้ ที่สำคัญแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความเสียหายที่เนื้อตับ คนกินเหล้าจึงมีโอกาสเป็นตับอักเสบมากกว่าคนไม่กินและอาจพัฒนาไปถึงขั้นตับวายได้




  ที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B2



อธิบาย 3

        จากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Clinical Journal of the American Society of Nephrology ที่ได้ศึกษาผลของการดื่มน้ำส้มคั้น และน้ำมะนาวในการป้องกันการเกิดนิ่วในไต ในอาสาสมัคร 13 คน ซึ่งมีทั้งผู้ที่เคยเป็นโรคนิ่วในไตมาก่อน และไม่เคยเป็นโรคนิ่วเลย โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ ระยะแรกให้ดื่มน้ำเปล่า ระยะต่อมาให้ดื่มน้ำส้มคั้น และระยะสุดท้ายให้ดื่มน้ำมะนาว โดยเครื่องดื่มทั้งหมดนี้จะให้ดื่มครั้งละ 13 ออนซ์ พร้อมอาหาร 3 มื้อต่อวัน ติดต่อกัน 1 อาทิตย์ และตลอดเวลาที่ทดลองนี้ ยังมีการควบคุมปริมาณอาหารที่มีผลต่อการเกิดนิ่ว พบว่าการดื่มน้ำส้มคั้นจะเพิ่มปริมาณของสารซิเตรตในปัสสาวะทำให้ปัสสาวะมีความเป็นกรดลดลง และยังลดการตกผลึกของกรดยูริก (uric acid) และแคลเซียมออกซาเลท (calcium oxalate) ที่เป็นส่วนประกอบหลักของก้อนนิ่วจึงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนิ่วในไต ขณะที่การดื่มน้ำมะนาวไม่มีผลต่อระดับสารซิเตรตในปัสสาวะ จึงอาจไม่มีผลช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคนิ่วในไต
กลุ่มนักวิจัยเชื่อว่าการที่น้ำส้มคั้นมีประสิทธิภาพดีกว่าน้ำมะนาวในการยับยั้งการเกิดโรคนิ่วในไต ทั้งๆ ที่เครื่องดื่มทั้ง 2 นั้น มีปริมาณของสารซิเตรตใกล้เคียงกัน อาจเป็นผลมาจากส่วนประกอบอื่นที่แตกต่างกันในน้ำผลไม้ทั้ง 2 ชนิด โดยการดื่มน้ำมะนาวนั้น จะได้รับทั้งสารซิเตรตและไฮโดรเจน (hydrogen ion) ที่สามารถขัดขวางการทำงานของสารซิเตรตในการที่จะลดภาวะความเป็นกรดของปัสสาวะ ขณะที่การดื่มน้ำส้มคั้นจะได้ทั้งสารซิเตรต และโพแทสเซียม (potassium ion) ที่ไม่มีผลต่อการทำงานของสารซิเตรต ทำให้น้ำส้มคั้นอาจกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการเกิดโรคนิ่วในไต




อธิบาย 1


การควบคุมไวรัส
              ไวรัสเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พืชสูญเสียอย่างมากในการเกษตรทั่วโลก เช่น ข้าว มะเขือเทศ อ้อย ฝ้าย เป็นต้น พันธุศาสตร์สามารถใช้ควบคุมไวรัสได้ดีที่สุด
ไวรัสที่พบในพืชมีทั้ง อาร์เอ็นเอ และดีเอ็นเอ ไวรัส การควบคุมไวรัสพืชสามารถทำได้ 2 หลักการดังนี้ :
              1. ไวรัสเคลือบโปรตีน (viral coat protein) เรียกย่อเป็น ซีพี (CP)              2. อาร์เอ็นเอ - ดีเพนเดนท์ อาร์เอ็นเอ โพลีเมอเรส (RNA-depende RNA polymerase)
             ในหลักการของซีพีเริ่มใช้กับยาสูบซึ่งมีไวรัส โทแบคโคโมซาอิค ไวรัส (Tobacco Mosaic Virus : TMV) และได้ขยายไปใช้กับมันฝรั่ง เรียกว่า โพเทโท้
ไวรัส เอกซ์ และวาย (Potato Virus X and Y : PVX และ PVY), แตงกวา เรียกว่า คิวคัมเบอร์โมซาอิค ไวรัส (Cucumber Mosaic Virus : CMV), มะละกอ
เรียกว่า พาพาย่า ริงสปอต์ ไวรัส (Papaya Ring Spot Virus : PRSV), แตงฝรั่ง เรียกว่า ซัคซินี่เยลโลว์ โมซาอิค ไวรัส (Zuccchini Yellow Mosaic Virus :
ZYMV), แตงโม เรียกว่า วอเตอร์เมล่อน โมซาอิคไวรัส สอง (Watermelon Mosaic Virus II : WMV II) ดูรายละเอียดใน Fitchen และ Beachy, (1993)
            ส่วนหลักการที่สอง ใช้ในมันฝรั่งที่เกิดจากไวรัสที่ส่วนของใบเรียกว่า โพเทโท้ ลีฟโรล ไวรัส (Potato Leaf Roll Virus : PLRV) (Kaniewski และคณะ
1994) นอกจากนี้มีผู้ทดลองอื่น ๆ เช่น Baulcombe, 1994, Wilson 1993 และ Braun และ Hemenway, 1992)}

           การผลิตพืชที่ต้านทานต่อโรคต่าง ๆ นับวันจะมีความสำคัญมากขึ้น นักวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชทั้งของไทยและประเทศอื่น ๆ ต้องให้ความสนใจ
และมีผลงานออกมาเสนอต่อเพื่อนมนุษย์ในอนาคตอย่างแน่นอน



อธิบาย 4
             แอนติบอดี (อังกฤษ: antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (อังกฤษ: immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen)
การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเปปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป
โครงสร้างโมเลกุลของแอนติบอดีอยู่ในรูปตัววาย (Y shape) ประกอบด้วยสายพอลีเปปไทด์ 4 เส้น คือ เส้นหนัก (heavy chain) 2 เส้น และเส้นเบา (light chain) 2 เส้น โดยเปรียบเทียบจากขนาดน้ำหนักโมเลกุลส่วนที่โคนของตัววายของโมเลกุลแอนติบอดี เรียกว่า constant region จ ะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็นคลาสไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เป็นต้น โดยที่ส่วนปลายของตัววายซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกับแอนติเจนจะมีความหลากหลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ซึ่งเรียกว่า variable region

    ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5




 อธิบาย 2


เซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะบางชนิดของพืช

เซลล์ที่บริเวณผิวใบของพืชนอกจากจะมีลักษณะเหมือนที่กล่าวมาแล้วยังมีเซลล์อีกชนิด
หนึ่งที่มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วหันด้านเว้าเข้าประกบกันทำให้ตรงกลางเกิดเป็นช่องหรือ
รูเปิด เซลล์ที่บริเวณผิวใบของพืชนอกจากจะมีลักษณะเหมือนที่กล่าวมาแล้วยังมีเซลล์
อีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วหันด้านเว้าเข้าประกบกันทำให้ตรงกลางเกิด
เป็นช่องหรือรูเปิด  เรียกเซลล์ทั้งสองนี้ว่า  เซลล์คุม (guard  cell)  และเรียนรวมทั้งเซลล์คุมและรูเปิดนี้ว่า  ปากใบ (stomata)







ปากใบทำหน้าที่เป็นทางแลกเปลี่ยนก๊าซและไอน้ำระหว่างภายในและภายนอกใบ  ภายในเซลล์คุมจะมีคลอโรพลาสต์ทำให้ส่วนนี้สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้  พบว่าพืชบกโดยทั่ว ๆ ไปจะมีเซลล์คุมและปากใบมากทางผิวใบด้านล่างเพื่อป้องกันไม่ให้
เกิดการสูญเสียน้ำไปได้ง่ายเกินไป  ส่วนพืชน้ำที่มีใบลอยบนผิวน้ำ  เช่น  บัวสาย  จะมีปากใบอยู่เฉพาะผิวใบด้านบนเพราะด้านล่างของใบแตะสัมผัสอยู่กับน้ำและพืชที่มี
ใบจมอยู่ใต้น้ำ  เช่น  สาหร่ายหางกระรอกจะไม่มีปากใบเลย





ที่มา  http://www.ratchanee.thport.com/E-learning/structure_cell.html
อธิบาย 4
       ดีเอ็นเอ (อังกฤษ: DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน
ดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล, ฟอสเฟต (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และเบส (หรือด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A) , ไทมีน (thymine, T) , ไซโทซีน (cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G) ขาของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเอง


ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD
อธิบาย 3
สรุปจากสิบกรณี ข้างบนมาให้ดูง่ายๆคือ
คนหมู่เลือด A +A      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B       = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
คนหมู่เลือด A+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด B+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด AB+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B
คนหมู่เลือด A+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
คนหมู่เลือด B+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O



ที่มา  http://www.thaikidclinic.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=471368&Ntype=6












อธิบาย 4
    รคเลือดจางธาลัสซีเมีย (อังกฤษ: thalassaemia) เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่าๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 และพบผู้ที่มีพาหะนำโรคถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน[1] เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจางโดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งมีสีแดงและนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ

 
ที่มา  http://www.thalassemia.or.th/1.htm
อธิบาย 2
    การกลายพันธุ์ หรือ มิวเทชัน (อังกฤษ: mutation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มปกติ
   ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/การกลายพันธุ์
อธิบาย 2
        การโคลน หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้อาศัยการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ คือสเปิร์ม กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย คือไข่ ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์ตามปกติ แต่ใช้เซลล์ร่างกาย (Somatic cell) ในการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ อันที่จริงเทคโนโลยีการโคลน เป็นเทคโนโลยีที่พบเห็นในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายมาหลายสิบปีมาแล้ว โดยเฉพาะกับพืช เช่น การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ซึ่งเป็นการาขยายพันธุ์ที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูง การโคลนพืช จะใช้เซลล์อวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือแม้แต่โพรโตพลาสต์ของพืช มาเลี้ยงในสารอาหาร และในสภาวะที่เหมาะสม ส่วนต่าง ๆ ของพืชดังกล่าวสามารถจะเจริญเป็นพืชต้นใหม่ ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ


ภาพตัวอย่างสัตวที่เกิดจากการโคลน


ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/53/2/heredity/topic07.html
 อธิบาย 3
ปัจจุบันเราจะเรียกสิ่งมีชีวิตทีได้รับการดัดแปรพันธุกรรมโดยใช้เทคนิควิธีพันธุวิศวกรรมว่า สิ่งมีชีวิตจีเอ็มโอ ซึ่งคำว่าจีเอ็มโอ (GMOs)มาจากคำว่า Genetically Modified Orgnisms สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมอาจเป็นจุลินทรีย์ พืช หรือสัตว์ก็ได้ ถ้ามีการนำสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมเหล่านี้มาใช้ในขณะที่ยังมีชีวิต อาจเรียกอีกอย่างได้ว่า แอลเอ็มโอ (LMOs) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Living Modified Organisms
 
         อย่างไรก็ตามการดัดแปรพันธุกรรมโดยการใช้วิธีทางพันธุวิศวกรรมในสิ้งมีชีวิตก้ยังมีข้อกำจัด เช่น ไม่สามารถใช้กับลักษณะบางอย่างของพืชบางชนิดได้ เพราะลักษณะที่ต้องการบางอย่างอาจถูกควบคุมด้วยยีนหลายตัวที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะทำให้มีการถ่ายทอดลักษณะเหล่านี้ระหว่างพืช หรือข้อกำจัดในการใช้พันธุวิศวกรรมกับสัตว์ ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยาก และละเอียดอ่อนกว่าพืช เพราะสัตว์ไม่สามารถงอกใหม่ โดยใช้ชิ้นส่วนเพียงส่วนเดียวของร่างกายได้ และต้องใช้เวลานานในการเจริญเติบโต
    ที่มา  http://takanoex.exteen.com/20060710/entry


อธิบาย 2
       ดีเอ็นเอ (DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน
    ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5e67cf355b35e752&table=%2Fguru%2Fsearch%3Fq%3D%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AD
อธิบาย 2
     ระบบนิเวศสระน้ำ เป็นหนึ่งในระบบนิเวศแหล่งน้ำ (ประกอบด้วย ระบบนิเวศทะเล  ระบบนิเวศทะเลสาบ ระบบนิเวศปะการัง ระบบนิเวศสระน้ำ ระบบนิเวศป่าชายเลน และระบบนิเวศน้ำจืด)
     ระบบนิเวศ (Ecosystem) เป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับบริเวณแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่
    ดังนั้นระบบนิเวศสระน้ำ คือ โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับสิ่งแวดล้อมในบริเวณสระน้ำที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้
  ที่มา   http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3adb0f073d31dd16&table=%2Fguru%2Fsearch%3Fq%3D%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B4%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A8 
อธิบาย  1
    ผลกระทบจากการระเบิดของภูเขาไฟ
  ที่มา     http://th.wikipedia.org/wiki/ภูเขาไฟ#.E0.B8.9C.E0.B8.A5.E0.B8.81.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.97.E0.B8.9A.E0.B8.88.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B9.80.E0.B8.9A.E0.B8.B4.E0.B8.94.E0.B8.82.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.A0.E0.B8.B9.E0.B9.80.E0.B8.82.E0.B8.B2.E0.B9.84.E0.B8.9F
อธิบาย  4
       ความหลากหลายทางชีวภาพ (อังกฤษ: Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (อังกฤษ: Species) สายพันธุ์ (อังกฤษ: Genetic) และระบบนิเวศ (อังกฤษ: Ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก
ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ
ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น
ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (อังกฤษ: vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995)
ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน
ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (อังกฤษ: environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น
   
อธิบาย 1
   ทรัพยากรทดแทนได้
         เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วสามารถฟื้นคืนสภาพได้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งได้แก่ ป่าไม้ มนุษย์สัตว์ป่า พืช ดิน และน้ำ ทรัพยากรประเภทนี้มักจะมีมากและจำเป็นอย่างยิ่งต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มนุษย์ต้องการใช้ทรัพยากรนี้ตลอดเวลาเพื่อปัจจัยสี่ การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติชนิดนี้ หรือการนำมาใช้ประโยชน์ควรนำมาใช้เฉพาะส่วนที่เพิ่มพูนเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งแนวคิดนี้ถือว่าฐานของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เปรียบเสมือนต้นทุนที่
จะได้รับผลกำไรหรือดอกเบี้ยรายปี โดยส่วนกำไรหรือดอกเบี้ยนี้ก็คือ ส่วนที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง

          การจัดการจะต้องจัดให้ระบบธรรมชาติมีองค์ประกอบภายในที่มีชนิด และปริมาณที่ได้สัดส่วนกัน การใช้ต้องใช้เฉพาะส่วนที่เพิ่มพูนและต้องควบคุมและป้องกันให้สต๊อกหรือฐานของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ มีศักยภาพ หรือความสามารถในการให้ผลิตผล หรือส่วนเพิ่มพูนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งในการใช้หรือการผลิตของทรัพยากรธรรมชาตินั้น
จะต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและยึดหลักทางการอนุรักษ์วิทยาด้วย



  ที่มา  http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?select=1&q=%B7%C3%D1%BE%C2%D2%A1%C3%B7%B4%E1%B7%B9%E4%B4%E9 
 อธิบาย  2
การฉายรังสี
         การฉายรังสีเป็นการใช้พลังงานในรูปของการแผ่รังสีของไอออนที่ถูกทำให้เกิด การแตกตัวเพื่อการถนอมรักษา ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์โดยใช้หลักการให้รังสีไปทำให้ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพของจุลินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือเนื่องจากการแผ่รังสีของไอออนจะทำให้พันธะเคมีของโมเลกุลสารประกอบต่างๆ ทางชีวเคมีภายในเซลล์ จุลินทรีย์ถูก ทำลายไปได้จึงเป็นผลให้จุลินทรีย์ตายได้ในที่สุด รังสีที่ใช้มีหลายชนิด ได้แก่ รังสีแกรมมา รังสีเบต้าและรังสีแคโทด เป็นต้น ซึ่งใช้ในระดับต่ำกว่าที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอาหารจึงไม่เกิดธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เมื่อฉายรังสีเพื่อ ทำลายเซลล์และสปอร์ของจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ให้หมดแล้ว ยังจะต้องป้องกันไม่ให้เกิด การปนเปื้อน ของจุลินทรีย์กลับเข้ามาภายหลังอีก จึงมักใช้การฉายรังสีคู่กับการใช้ภาชนะ บรรจุพลาสติกหรือการบรรจุกระป๋องปิดผนึก ที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ได้นานโดยไม่ต้องใช้อุณหภูมิต่ำ
   ที่มา   http://www.nsru.ac.th/e-learning/meattech/lesson/less9_6.html


อธิบาย 1


     สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ จำนวน ๙ ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกางผา สัตว์ป่าสงวนเหล่านี้หายาก หรือใกล้จะสูญพันธุ์หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทย เปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่างๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๖ นับเป็นสมาชิกลำดับที่ ๘๐ จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิม และตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕
สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวก โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไข หรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์ อย่างยิ่ง ๗ ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก ๑ ชนิด คือ เนื้อทราย รวมกับสัตว์ป่าสงวนเดิม ๘ ชนิด รวมเป็น ๑๕ ชนิด ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เลียงผา กวางผา นกแต้วแล้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ และพะยูน




                            


    ที่มา  http://www.pahdongdoy.com/season_all/aninmalsave/aninmalsave.asp
  • แรงสั่นสะเทือน มีทั้งการเกิดแผ่นดินไหวเตือน แผ่นดินไหวจริง และแผ่นดินไหวติดตาม ถ้าประชาชนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเชินภูเขาไฟอาจหนีไม่ทันเกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
  • การเคลื่อนที่ของลาวา อาจไหลออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟเคลื่อนที่รวดเร็วถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มนุษยและสัตว์อาจหนีภัยไม่ทันเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
  • เกิดเถ้าภูเขาไฟ บอมบ์ภูเขาไฟ ระเบิดขึ้นสู่บรรยากาศ ครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟ และลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟระเบิดหลายพันกิโลเมตร เช่น ภูเขาไฟพินาตูโบระเบิดที่เกาะลูซอนประเทศฟิลิปปินส์
ฝุ่นภูเขาไฟยังมาตกทางจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เช่น จังหวัดสงขลา นราธิวาส และปัตตานี เกิดมลภาวะทางอากาศและแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของประชาชน รวมทั้งฝุ่นภูเขาไฟได้ขึ้นไปถึงบรรยากาศขั้นสตราโตสเฟียร์ ใช้เวลานานหลายปี ฝุ่นเหล่านั้นตึงจะตกลงบนพื้นโลกจนหมด
  • เกิดคลื่นสึนามิ ขณะเกิดภูเขาไประเบิด โดยเฉพาะภูเขาไฟใต้ท้องมหาสมุทร คลื่นนี้จะโถมเข้าหาฝั่งสูงกว่า 30 เมตร
  • หลังจากภูเขาไฟระเบิด เถ้าภูเขาไฟจะถล่มลงมา ทำให้พื้นที่ใกล้เคียงถูกทำลาย

3 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาเยอะดีน่ะ ชอบๆ

    ตอบลบ
  2. ...ประเมินตัวเองนะคะ...
    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5. ลงคะแนนเต็ม 120 คะเเนน ได้คะเเนน 110 คะเเนน

    ตอบลบ
  3. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้

    1.ทำครบตามที่กำหนดข้อละ 2 คะแนน
    2.มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3.บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน
    4.วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็น


    รวมคะแนนเต็ม 130 คะแนน
    ให้คะแนนธิดาทิพย์ 125 คะแนน

    ตอบลบ