กิจกรรม 17-21 มกราคม 2554






ข้อ 2
อธิบาย
  
        ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน
ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี
  

     ที่มา    http://th.wikipedia.org/wiki/หน้าหลัก




ข้อ 4
อธิบาย
    
ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
K = โพแทสเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
KCl = โพแทสเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Na = โซเดียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
NaCl = โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง)
H2 = ไฮโดรเจน

แต่ถ้าเปลี่ยนสารตั้งต้นของปฏิกิริยาจากกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เป็นน้ำ (H2O) สามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่างสารตั้งต้น เป็นผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยา ได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
H2O = น้ำ
Mg(OH)2 = แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Na = โซเดียม
H2O = น้ำ
NaOH = โซเดียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Ca = แคลเซียม
H2O = น้ำ
Ca(OH)2 = แคลเซียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน

    ที่มา    http://www.maceducation.com/e-knowledge/2422210100/23.htm




ข้อ 4
อธิบาย
 
           การหมุนเวียนของกำมะถันในแต่ละส่วนของระบบนิเวศสรุปได้ดังนี้
ชั้นของหินเปลือกโลกเป็นแหล่งสำคัญของกำมะถัน การออกจากระบบพื้นผิวโลกเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และการชะลงสู่ชั้นของน้ำใต้ดิน นอกจากนั้น กิจกรรมของมนุษย์ยังมีส่วนต่อการเคลื่อนย้ายของกำมะถัน ทั้งโดยการเผาไหม้เชื้อเพลิง การถลุงแร่และการผลิตปุ๋ย
  • ชั้นของดิน ที่มาของกำมะถันในดินมาจากการชะล้าง ผุพัง และจากบรรยากาศ รวมทั้งการใส่ปุ๋ย กำมะถันในดินจะถูกเปลี่ยนรูปไปทั้งโดยปฏิกิริยาเคมีและสิ่งมีชีวิต ในดินชั้นบน กำมะถันจะอยู่ในสารอินทรีย์ ส่วนดินชั้นล่างจะอยู่ในรูปสารอนินทรีย์ ในดินที่มีการระบายอากาศดี กำมะถันจะอยู่ในรูปของซัลเฟต แต่ในดินที่มีการระบายอากาศไม่ดีเช่นมีน้ำท่วมขัง กำมะถันจะอยู่ในรูปซัลไฟด์ แต่เมื่อเติมก๊าซออกซิเจนลงไป ซัลไฟด์จะเปลี่ยนเป็นซัลเฟต ซัลเฟตละลายน้ำๆด้ดีจึงถูกชะออกจากดินได้ง่าย การย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ จะได้กำมะถันในรูปของก๊าซ ส่วนหนึ่งจะระเหยไปสู่บรรยากาศ ส่วนหนึ่งจะกลับไปอยู่ในรูปของซัลเฟตอีก ทั้งโดยปฏิกิริยาเคมีและสิ่งมีชีวิต
  • สิ่งมีชีวิต เมื่อกำมะถันเข้าสู่สิ่งมีชีวิตจะถูกนำไปสร้างเป็นโปรตีน วิตามิน หรือสารประกอบอื่นๆ และจะถูกเปลี่ยนกลับเป็นซัลเฟตหรือสารประกอบอื่นๆของกำมะถันได้เมื่อสิ่งมีชีวิตตาย
  • บรรยากาศ สารประกอบของกำมะถันในบรรยากาศได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (S2O) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)สารประกอบอินทรีย์ของกำมะถันที่ระเหยได้ และซัลเฟตในบรรยากาศ แหล่งที่มาได้แก่ ก๊าซจากการระเบิดของภูเขาไฟ ฝุ่นละอองที่มากับลม ก๊าซจากสิ่งมีชีวิต และกิจกรรมของมนุษย์ การคงอยู่ของก๊าซเหล่านี้ในบรรยากาศสั้นมากและขึ้นกับความคงตัวทางโมเลกุลด้วย การออกซิไดส์ของก๊าซเหล่านี้ขึ้นกับอุณหภูมิ ความชื้น และแสงอาทิตย์
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ส่วนใหญ่มาจากการกระทำของมนุษย์ ในขณะที่จุลินทรีย์จะผลิต COS, CS2, และ (CH3)2S ผลิตภัณฑ์สุดท้ายจากการออกซิไดส์ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์และก๊าซที่มีกำมะถันอื่น ๆ คือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลเฟต แต่โดยทั่วไปซัลเฟตจะเข้าสู่บรรยากาศโดยยละอองน้ำจากทะเลและฝุ่นละอองที่มากับลม การออกจากบรรยากาศเกิดขึ้นโดยการรวมตัวกับน้ำ เกิดเป็นฝนกรดและลงสู่พื้นดิน หรือรวมตัวกับธาตุอื่นๆแล้งตกมายังพื้นโลก
  • แหล่งน้ำ ในมหาสมุทร กำมะถันจะอยู่ในรูปซัลเฟตที่ละลายน้ำ ซึ่งมาจากแม่น้ำและฝน ในดินตะกอนจะมีสารประกอบกำมะถันในสภาพรีดิวซ์ปะปนอยู่ กำมะถันจะออกจากแหล่งน้ำโดยถูกซัดปนไปกับละอองน้ำ หรือโดยการระเหยในรูปก๊าซที่เกิดจากการกระทำของจุลินทรีย์
    ที่มา     http://th.wikipedia.org/wiki/วัฏจักรกำมะถัน




ข้อ 1
อธิบาย
  
    อนุภาคมูลฐาน (อังกฤษ: Elementary Particle) คืออนุภาคเป็นหน่วยย่อยที่สุดในทางทฤษฎีฟิสิกส์ เราไม่ถือว่ามันประกอบขึ้นมาจากสิ่งใดอีก อนุภาคมูลฐานที่เรารู้จักกันดีที่สุดคือ อิเล็กตรอน ซึ่งไม่สามารถแยกย่อยเป็นอนุภาคใดๆได้อีก
ในทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐาน (Standard Model) แบ่งอนุภาคมูลฐาน เป็นสองพวกคือ เฟอร์มิออน เป็นอนุภาคที่ประกอบกันเป็นสสารได้แก่ ควาร์ก (quarks) และเลปตอน (leptrons) อีกพวกเป็นอนุภาคที่นำแรงหรืออนุภาคโบซอน (bosons)
อิเล็กตรอนเป็นอนุภาคที่จัดอยู่ในกลุ่มของเลปตอน

 ชนิดของอนุภาคมูลฐาน

  1. เฟอร์มิออน (fermion) เป็นอนุภาคสปินเลขครึ่งจำนวนเต็ม (half integer spin) เช่น 1/2 3/2 5/2 ฯลฯ
  2. โบซอน (boson) เป็นอนุภาคสปินเลขจำนวนเต็ม (integer spin) ประกอบด้วย
    1. โฟตอน (photon) อนุภาคนำแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
    2. อนุภาคซี (Z) อนุภาคดับบลิว (W+,W-) อนุภาคนำแรงนิวเคลียร์แบบอ่อน (weak nuclear force)
    3. อนุภาคกลูออน (gluon) อนุภาคนำแรงนิวเคลียร์แบบเข้ม (strong nuclear force)
    4. กราวิตอน (graviton) อนุภาคนำแรงโน้มถ่วง (ยังไม่ถูกค้นพบ)
  3. ชนิดที่ยังไม่สามารถจำแนกได้
    1. อนุภาคฮิกส์ (Higgs particle) คาดว่าจะพบในสนามฮิกส์ ซึ่งมีอายุเพียงหนึ่งส่วนล้านล้านวินาที สร้างได้จากการชนกันของอนุภาคในเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ของศูนย์วิจัย CERN
        ที่มา     http://th.wikipedia.org/wiki/อนุภาคมูลฐาน




ข้อ 2
อธิบาย 
 
      อิเล็กตรอน (อังกฤษ: Electron) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบวิ่งอยู่รอบๆ นิวเคลียสตามระดับพลังงานของอะตอมนั้นๆ โดยส่วนมากของอะตอม จำนวน อิเล็กตรอน ในอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีเท่ากับจำนวน โปรตอน เช่น ไฮโดรเจนมีโปรตอน 1 ตัว และอิเล็กตรอน 1 ตัว ฮีเลียมมีโปรตอน 2 ตัว และอิเล็กตรอน 2 ตัว

คุณสมบัติ

อิเล็กตรอนนั้นจัดได้ว่าเป็นอนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง อิเลคตรอนอยู่ในตระกูลเลปตอน (lepton) ที่เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเท่ากับ 1.60217646 * 10 − 19 คูลอมบ์ อิเล็กตรอนมีค่าสปิน s = 1/2 ทำให้เป็นเฟอร์มิออนชนิดหนึ่ง อิเล็กตรอนเป็นปฏิอนุภาค (anti-matter) ของโพซิตรอน

     ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/อิเล็กตรอน




ข้อ 3
อธิบาย
       การศึกษาสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ จะช่วยในการทำนายสมบัติของธาตุได้ ถ้ารู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุหรือถ้ารู้สมบัติบางประการของธาตุอาจพิจารณาตำแหน่งของธาตุได้ ดังตัวอย่างการจัดตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนที่ศึกษามาแล้ว ต่อไปนักเรียนจะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติของธาตุมาทำนายตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุได้จากตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ 1 ธาตุตัวอย่าง X มีสมบัติที่ปรากฏดังนี้
สมบัติ
ลักษณะที่ปรากฏ
สถานะ
เป็นของแข็ง
สีผิว
ผิวเป็นมันวาว
การนำไฟฟ้า
นำไฟฟ้าได้
การละลายในน้ำ
ไม่ละลายน้ำ
การทำปฏิกิริยากับCl2
เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง มีเปลวไฟและควันสีขาวเมื่อเย็นจะได้ของแข็งสีขาว
การละลายในน้ำของสาร
สีขาวที่เกิดขึ้น
ละลายน้ำได้เล็กน้อย สารละลายมีสมบัติเป็นกรด

     แนวคิด จากสมบัติต่าง ๆ ของธาตุ X สามารถทำนายได้ว่า
- ธาตุ X มีสมบัติคล้ายโลหะคือ มีผิวเป็นมันวาว นำไฟฟ้าได้ และไม่ละลายน้ำ ธาตุ X ไม่ควรเป็นธาตุหมู่ IA หรือหมู่ IIA
- เมื่อธาตุ X ทำปฏิกิริยากับ Cl2 ได้สารประกอบคลอไรด์เป็นของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้สารละลายมีสมบัติเป็นกรด แสดงว่าเป็นสารประกอบคลอไรด์ของอโลหะ
- จากข้อมูลทั้งหมดทำนายได้ว่าธาตุ X มีสมบัติเป็นทั้งโลหะและอโลหะ X จึงจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ และควรอยู่ในหมู่ IVA ทางตอนล่างของตารางธาตุ ในทางกลับกัน ถ้าทราบตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุจะสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้ ดังตัวอย่าง 2
ตัวอย่างที่ 2 ธาตุ Y เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 19 ธาตุ Y ควรจะมีสมบัติเป็นอย่างไร
แนวคิด เมื่อทราบเลขอะตอม ทำให้ทราบข้อมูลอื่น ๆ ดังนี้- การจัดเรียงอิเล็กตรอนของ Y คือ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s1
- ธาตุY อยู่ในหมู่ IA และอยู่ในคาบที่ 4 จากข้อมูลช่วยให้ทำนายได้ว่าธาตุ Y ควรมีสมบัติคล้ายธาตุหมู่ IA คือ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 เมื่อเกิดเป็นสารประกอบมีเลขออกซิเดชันเท่ากับ +1 มีสถานะเป็นของแข็ง มีจุดหลอมเหลว และจุดเดือดสูง นำไฟฟ้าได้ทำปฏิกิริยากับน้ำอย่างรุนแรง

    ที่มา   http://www.kme10.com/mo4y2552/mo403/noname12.htm




ข้อ 3
อธิบาย
    
      ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน
เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี
ธาตุที่เบาที่สุดคือ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ซึ่งเป็นสองธาตุแรกสุดที่เกิดขึ้นในกระบวนการบิ๊กแบง ธาตุอื่นๆนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นด้วยมนุษย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสังเคราะห์นิวเคลียส
จนถึงปี ค.ศ. 2004 มีธาตุที่ถูกค้นพบทั้งหมด 116 ธาตุ (ดู ตารางธาตุ) ในจำนวนนี้มี 91 ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่วน 25 ธาตุที่เหลือนั้นเป็นธาตุที่ถูกสร้างขึ้น โดยธาตุแรกที่ถูกสร้างขึ้นคือเทคนีเชียม ในปี ค.ศ. 1937 ธาตุที่ถูกสร้างขึ้นนี้ ทั้งหมดเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี ที่มีระยะครึ่งชีวิตที่สั้น ดังนั้นธาตุเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกนั้น ก็ได้สลายตัวไปหมดแล้ว
อะตอมของธาตุเดียวกันที่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากันนั้นจะเรียกว่าเป็น ไอโซโทปของธาตุนั้น
    ตารางธาตุแบบมาตรฐาน


หมู่1A2A
3B4B5B6B7B8B8B8B1B2B3A4A5A6A7A8A
คาบ
11
H

2
He
23
Li
4
Be


5
B
6
C
7
N
8
O
9
F
10
Ne
311
Na
12
Mg


13
Al
14
Si
15
P
16
S
17
Cl
18
Ar
419
K
20
Ca

21
Sc
22
Ti
23
V
24
Cr
25
Mn
26
Fe
27
Co
28
Ni
29
Cu
30
Zn
31
Ga
32
Ge
33
As
34
Se
35
Br
36
Kr
537
Rb
38
Sr

39
Y
40
Zr
41
Nb
42
Mo
43
Tc
44
Ru
45
Rh
46
Pd
47
Ag
48
Cd
49
In
50
Sn
51
Sb
52
Te
53
I
54
Xe
655
Cs
56
Ba
*71
Lu
72
Hf
73
Ta
74
W
75
Re
76
Os
77
Ir
78
Pt
79
Au
80
Hg
81
Tl
82
Pb
83
Bi
84
Po
85
At
86
Rn
787
Fr
88
Ra
*
*
103
Lr
104
Rf
105
Db
106
Sg
107
Bh
108
Hs
109
Mt
110
Ds
111
Rg
112
Cn
113
Uut
114
Uuq
115
Uup
116
Uuh
(117)
Uus
118
Uuo

* แลนทาไนด์57
La
58
Ce
59
Pr
60
Nd
61
Pm
62
Sm
63
Eu
64
Gd
65
Tb
66
Dy
67
Ho
68
Er
69
Tm
70
Yb
** แอกทิไนด์89
Ac
90
Th
91
Pa
92
U
93
Np
94
Pu
95
Am
96
Cm
97
Bk
98
Cf
99
Es
100
Fm
101
Md
102
No

อนุกรมเคมีในตารางธาตุ
โลหะแอลคาไลโลหะแอลคาไลน์เอิร์ทแลนทาไนด์แอกทิไนด์โลหะทรานซิชัน
โลหะหลังทรานซิชันธาตุกึ่งโลหะอโลหะแฮโลเจนก๊าซมีตระกูล

รหัสสีสำหรับเลขเชิงอะตอม:
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีน้ำเงิน เป็นของเหลวที่ STP
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีเขียว เป็นก๊าซที่ STP
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีดำ เป็นของแข็งที่ STP
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีแดง เป็น ธาตุสังเคราะห์ (ทุกธาตุเป็นของแข็งที่ STP)
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีเทา ยังไม่มีการค้นพบ (ธาตุเหล่านี้ในตารางจะมีสีพื้นจาง ๆ ที่ใกล้เคียงกับสีพื้นของอนุกรมเคมีที่ธาตุดังกล่าวน่าจะเป็นสมาชิก)

     ที่มา   http://th.wikipedia.org/wiki/ธาตุเคมี




ข้อ 2
อธิบาย
     Oxygen ออกซิเจน

จากที่เราได้ทราบกันดีว่าออกซิเจน Oxygen เป็นส่วนสำคัญในการดำรงษ์ชีวิตของมนุษย์และสัตว์ และมีส่วนประกอบในอากาศ Air มากเป็นอันดับสองรองจากไนโตรเจน Nitrogen ซึ่งออกซิเจน Oxygen จะมีระดับความเข้มข้มในอากาศที่ 20.9% และไนโตรเจน nitrogen ที่ 78% คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของออกซิเจน Oxygen ในสถานะปกติออกซิเจน Oxygen เป็นก๊าซ Gas ที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและไม่มีรส หนักกว่าอากาศเล็กน้อยและละลายน้ำได้เล็กน้อย ความหนาแน่นของออกซิเจน คือ 1.43 g/litter ความหนาแน่นของอากาศ  Air คือ 1.29 g/litter เมื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำลง ออกซิเจน Oxygen จะกลายเป็นของเหลว สีฟ้าอ่อน ที่ -182.5 องศาเซลเซียล และถ้าลดอุณหภูมิลงอีก จะกลายเป็นของแข็ง สีฟ้าอ่อน มีจุดเยือกแข็งที่ -218.4 องศาเซลเซียล
คุณสมบัติทางเคมีของออกซิเจน  Oxygen เป็นธาตุที่สามารถทำปฏิกิริยากับธาตุต่างๆ ปานกลางในอุณหภูมิปกติ และจะมีปฏิกิริยามากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ออกซิเจน Oxygen สามารถทำปฏิกิริยากับธาตุต่างๆ เกือบทั้งหมด ให้สารประกอบเรียกว่า Oxides ปฏิกิริยาระหว่างออกซิเจน Oxygen กับสารอื่นเราเรียกว่าออกซิเดชั่น (oxidation)

ออกซิเดชั่น (Oxidation) หมายถึงกระบวนการที่มีการเติมออกซิเจน oxygen หรือหมายถึงการลดทอน electron หรือการเพิ่ม oxidation number การเกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่น เกิดได้ดังเช่น
·         การสันดาป Combustion หมายถึงขบวนการที่สารจำพวกเชื้อเพลิงทำปฎิกิริยากับออกซิเจน oxygen จนเกิดเป็น oxide มีความร้อนและพลังงาน เกิดขึ้น เช่น การเผาไหม้
·         การระเบิด Explosion คือขบวนการสันดาปที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
·         การหายใจ คือขบวนการนำออกซิเจน oxygen เข้าไปในร่างกายเพื่อไปทำให้เกิดปฏิกิริยากับสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน ทำให้เกิดคาร์บอกไดออกไซด์  น้ำ และพลังงาน
·         การฟอกจาง คือขบวนการที่เติมออกซิเจน oxygen ให้กับสารบางตัวในโรงงานอุตสาหกรรมจำพวกสิ่งทอ Textile
·         การเกิดสนิม คือออกซิเจน oxygen ทำปฎิกริยากับเหล็กอย่างช้าๆ โดยมีไอน้ำ water เป็นตัวร่วม ทำปฎิกิริยาทำให้เกิดเหล็กออกไซด์เป็น ferrous oxide  จนกระทั่งเป็นสนิม
ผลกระทบจากออกซิเจน Effect from Oxygen
ตามที่ได้แจ้ง อากาศที่เราหายใจประกอบด้วยออกซิเจน Oxygen  20.9% ถ้าปราศจากก๊าซออกซิเจน Oxygen เราจะ
ตายภายในไม่กี่นาที แต่นอกเหนือจากการดำรงษ์ชีวิตของมนุษย์โดยออกซิเจน Oxygen แล้ว การเกิดปฏิกิริยารุนแรงโดยเกิดโดยตรงจากออกซิเจน Oxygen ก็มักพบได้จากที่ออกซิเจน Oxygen ทำปฎิกิริยาเองอย่างรุนแรง เช่นในกรณีที่สถานที่นั้นๆ มีค่าออกซิเจน Oxygen สูงกว่าค่าปกติเช่นอาจสูงเกินกว่า 24%  ออกซิเจน Oxygen อาจจะลุกติดไฟได้ง่าย เกิดความร้อนสูงกว่าและรุนแรง กว่าในอากาศปกติและยากในการดับไฟ การรั่วของก๊าซออกซิเจนจากวาล์วหรือท่อนำก๊าซในห้องที่มีการระบายอากาศไม่ดีหรือในที่อับอากาศ จะทำให้ความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจน Oxygen เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วจนถึงระดับที่เป็นอันตราย
สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้และเกิดการระเบิดในขณะปฎิบัติงานมีดังนี้
·         ปริมาณก๊าซออกซิเจน Oxygen ในอากาศเพิ่มขึ้นจากการรั่วของอุปกรณ์
·         ใช้วัสดุที่เข้ากันไม่ได้กับออกซิเจน Oxygen
การป้องกันการเกิดเพลิงไหม้และป้องกันการระเบิดจากการใช้ออกซิเจน Oxygen
·         ต้องใช้อุปกรณ์ที่ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับใช้กับออกซิเจน Oxygen
·         ต้องใช้งานอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับออกซิเจนให้ถูกต้องหรือระมัดระวัง และควรได้รับการอบรม
·         ใช้อุปกรณ์สำหรับตรวจจับออกซิเจน Oxygen เช่น เครื่องวัดออกซิเจนแบบพกพา Portable Oxygen Detectors และเครื่องวัดออกซิเจนแบบอยู่ประจำที่ Oxygen Analyzers
·         ต้องมีการระบายอากาศที่ดี
·         อย่าใช้ออกซิเจน Oxygen ในการเป่าหรือขจัดฝุ่นออกจากเสื้อผ้าหรือเครื่องจักร
·         อย่าใช้ปริมาณออกซิเจน Oxygen มากเกินไปในงานตัดเชื่อม
·         คอยตรวจสอบจุดรั่วไหลต่างๆ ในบริเวณหน้างาน เช่นท่อ หรือข้อต่อต่างๆ ที่นำพาออกซิเจน Oxygen
·         ไม่ควรนำท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน Oxygen ลงไปในที่อับอากาศ ควรใช้ท่อนำก๊าซต่อเข้าไปแทน
·         ไม่ควรใช้ออกซิเจน Oxygen ในการติดเครื่องยนต์ดีเซล
·         ไม่ควรใช้ออกซิเจน Oxygen เติมลมยาง
·         ไม่ควรใช้ออกซิเจน Oxygen ในอุปกรณ์ที่ใช้ลมในการขับเคลื่อน
·         ต้องเก็บท่อออกซิเจน Oxygen ให้ห่างจากก๊าซไวไฟอย่างน้อย 20 ฟุต หรือแยกพื้นที่เก็บโดยกั้นด้วยกำแพงทนไฟสูงอย่างน้อย 5 ฟุตและทนไฟได้อย่างน้อย 30 นาที
·         ห้ามเก็บไขและน้ำมันใกล้กับออกซิเจน Oxygen และห้ามทาไขหรือน้ำมันบนข้อต่อท่อบรรจุก๊าซ
·         ควรใช้รถเข็นที่ออกแบบมาสำหรับเคลื่อนย้ายถังออกซิเจน Oxygen โดยเฉพาะ
·         ควรมีโซ่หรืออุปกรณ์จับยึดท่อออกซิเจน Oxygen กันล้ม
·         ควรมีอุปกรณ์ดับเพลิงอยู่ใกล้ถังบรรจุออกซิเจน Oxygen
·         ควรทำทางออกฉุกเฉินสำหรับพื้นที่ที่ต้องการ การป้องกันอย่างสูง

สินค้าที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้

เครื่องวัดออกซิเจน แบบพกพา
    ที่มา    http://www.orangeth.com/GasArticles/Oxygen-ออกซิเจน.html




ข้อ 3
อธิบาย
    ในปี ค.ศ. 1896 อองตวน อองรี เบ็กเคอเรล นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส พบว่า  เมื่อเก็บแผ่นฟิล์มถ่ายรูปที่หุ้มด้วยกระดาษสีดำไว้กับสารประกอบของยูเรเนียม ฟิล์มจะมีลักษณะเหมือนถูกแสง และเมื่อทำการทดลองกับสารประกอบของยูเรเนียมชนิดอื่นๆ ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน  จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีรังสีแผ่ออกมาจากธาตุยูเรเนียม ดังภาพ

ภาพที่ 10 การทดลองสารกัมมันตรังสีของอองตวน อองรี เบ็กเคอเรล
          ต่อมา ปีแอร์ และมารี กูรี ได้ค้นพบว่า ธาตุยูพอโลเนียม เรเดียม และทอเรียม ก็สามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกัน  เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า
          ธาตุกัมมันตรังสี หมายถึง ธาตุที่แผ่รังสีได้ เนื่องจากนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียร เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า  82
          กัมมันตภาพรังส หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง รังสีที่ได้จากการสลายตัว มี 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา
          ในนิวเคลียสของธาตุประกอบด้วยโปรตอนซึ่งมีประจุบวกและนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า สัดส่วนของจำนวนโปรตอนต่อจำนวนนิวตรอนไม่เหมาะสมจนทำให้ธาตุนั้นไม่เสถียร ธาตุนั้นจึงปล่อยรังสีออกมาเพื่อปรับตัวเองให้เสถียร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น

(ธาตุยูเรเนียม)      (ธาตุทอเลียม) (อนุภาคแอลฟา)
          จะเห็นได้ว่า การแผ่รังสีจะทำให้เกิดธาตุใหม่ได้  หรืออาจเป็นธาตุเดิมแต่จำนวนโปรตอนหรือนิวตรอนอาจไม่เท่ากับธาตุเดิม  และธาตุกัมมันตรังสีแต่ละธาตุ  มีระยะเวลาในการสลายตัวแตกต่างกันและแผ่รังสีได้แตกต่างกัน  เรียกว่า ครึ่งชีวิตของธาตุ
          ครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทปและสามารถใช้เปรียบเทียบอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดได้
ตารางที่ 7 ชนิดและสมบัติของรังสีบางชนิด
ชนิดของรังสี
สัญลักษณ์
สมบัติ
รังสีแอลฟา
หรืออนุภาคแอลฟา
หรือ
เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม มีโปรตอนและนิวตรอนอย่างละ 2 อนุภาค มีประจุไฟฟ้า +2 มีเลขมวล 4 มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำเพียงแค่กระดาษ อากาศที่หนาประมาณ 2-3 cm น้ำที่หนาขนาดมิลลิเมตร หรือโลหะบางๆ ก็สามารถกั้นอนุภาคแอลฟาได้
รังสีบีตา
หรืออนุภาคบีตา
หรือ
มีสมบัติเหมือนอิเล็กตรอน มีประจุไฟฟ้า -1 มีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน (น้อยมาก) มีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีแอลฟาประมาณ 100 เท่า สามารถผ่านแผ่นโลหะบางๆ ได้ และมีความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วแสง
รังสีแกมมา
เป็นคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก ไม่มีประจุ ไม่มีมวล เป็นรังสีที่มีพลังงานสูง มีความเร็วเท่ากับความเร็วแสงและมีอำนาจทะลุทะลวงสูง สามารถผ่านแผ่นตะกั่วหนา 8 mm หรือแผ่นคอนกรีตหนาๆ ได้


ภาพที่ 11 อำนาจทะลุทะลวงของรีงสีต่างๆ
การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี           การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี เรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
          1. ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission reaction) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าไปยังนิวเคลียสของธาตุหนัก แล้วทำให้นิวเคลียร์แตกออกเป็นนิวเคลียร์ที่เล็กลงสองส่วนกับให้อนุภาคนิวตรอน 2-3 อนุภาค และคายพลังงานมหาศาลออกมา ถ้าไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาได้อาจเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า ลูกระเบิดปรมาณู (Atomic bomb) เพื่อควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ไม่ให้เกิดรุนแรงนักวิทยาศาสตร์จึงได้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

 ภาพที่ 12 การเกิดปฏิกิริยาฟิชชัน
          2. ปฏิกิริยาฟิวชัน (Fussion reaction) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมกันเข้าเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า และมีการคายความร้อนออกมาจำนวนมหาศาลและมากกว่าปฏิกิริยาฟิชชันเสียอีก ปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันดี คือ ปฏิกิริยาระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb) ดังภาพ

ภาพที่ 13 การเกิดปฏิกิริยาฟิวชัน
ประโยชน์จากการใช้ธาตุกัมมันตรังสี          1. ด้านธรณีวิทยา การใช้คาร์บอน-14  (C-14) คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ          2. ด้านการแพทย์ ใช้ไอโอดีน-131 (I-131) ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไธรอยด์ โคบอลต์-60 (Co-60) และเรเดียม-226 (Ra-226) ใช้รักษาโรคมะเร็ง          3. ด้านเกษตรกรรม ใช้ฟอสฟอรัส 32 (P-32) ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ  และใช้โพแทสเซียม-32 (K–32) ในการหาอัตราการดูดซึมของต้นไม้
          4. ด้านอุตสาหกรรม ใช้ธาตุกัมมันตรังสีตรวจหารอยตำหนิ เช่น รอยร้าวของโลหะหรือท่อขนส่งของเหลว ใช้ธาตุกัมมันตรังสีในการ ตรวจสอบและควบคุมความหนาของวัตถุ ใช้รังสีฉายบนอัญมณีเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
          5. ด้านการถนอมอาหาร ใช้รังสีแกมมาของธาตุโคบอลต์-60 (Co–60) ปริมาณที่พอเหมาะใช้ทำลายแบคทีเรียในอาหาร  จึงช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานขึ้น
          6. ด้านพลังงาน มีการใช้พลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของยูเรีเนียม-238 (U-238) ต้มน้ำให้กลายเป็นไอ แล้วผ่านไอน้ำไปหมุนกังหัน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
เอ็กซ์-เรย์
อาบรังสีเพื่อถนอมอาหาร
โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
ภาพที่ 14 ตัวอย่างประโยชน์จากธาตุกัมมันตรังสี
ตารางที่ 8 แสดงธาตุและไอโซโทป
ธาตุ/ไอโซโทป
ครึ่งชีวิต
แบบการสลายตัว
ประโยชน์
Tc -99
6 ชั่วโมง

C-14
5,760 ปี
บีตา
หาอายุวัตถุโบราณ
Co-60
5.26 ปี
แกมมา
รักษามะเร็ง
Au-198
2.7 วัน
บีตา แกมมา
วินิจฉัยตับ
I-125
60 วัน
แกมมา
หาปริมาณเลือด
I-131
8.07 วัน
บีตา แกมมา
วินิจฉัยอวัยวะ
P-32
14.3 วัน
บีตา
รักษามะเร็ง
Pu-239
24,000 ปี
แอลฟา  แกมมา
พลังงาน
K-40
1x109 ปี
บีตา
หาอายุหิน
U-238
4.5x109 ปี
แอลฟา  แกมมา
วัตถุเริมต้นให้ Pu-239
U-235
7.1x109 ปี
แอลฟา  แกมมา
รักษามะเร็ง
Cl-36
4x105 ปี


Po-216
0.16 วินาที


Ra-226
1,600 ปี
แอลฟา  แกมมา
รักษามะเร็ง
โทษของธาตุกัมมันตรังสี           1. ถ้าร่างกายได้รับจะทำให้โมเลกุลภายในเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ถ้าเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมก็จะเกิดการผ่าเหล่า โดยเฉพาะเซลล์สืบพันธุ์เมื่อเข้าไปในร่างกายจะไปสะสมในกระดูก
          2. ส่วนผลที่ทำให้เกิดความป่วยไข้จากรังสี เมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับรังสี โมเลกุลของธาตุต่างๆ ที่ประกอบเป็นเซลล์จะแตกตัว ทำให้เกิดอาการป่วยไข้และเกิดมะเร็งได้
      ที่มา    http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_10.html






เครื่องวัดออกซิเจน

2 ความคิดเห็น:

  1. ...ประเมินตัวเองนะคะ...
    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5. ลงคะแนนเต็ม 90 คะเเนน ได้คะเเนน 80 คะแนน

    ตอบลบ
  2. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้

    1.ทำครบตามที่กำหนดข้อละ 2 คะแนน
    2.มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3.บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน
    4.วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็น


    รวมคะแนนเต็ม 90 คะแนน
    ให้คะแนนธิดาทิพย์ 80 คะแนน

    ตอบลบ