15-19 พฤศจิกายน 2553



ข้อ  4


ข้อ  3


ข้อ  2
ในบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกนั้นบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์นับว่าเป็นชั้นที่มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกมากที่สุดในเพราะสามารถกรองรังสีอุลตราไวโอเลต(UV) ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิของโลกอบอุ่นขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาสถานภาพของโอโซนและสารประกอบที่สามารถทำลายโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์จึงมีความสำคัญมาก โอโซนในบรรยากาศมีปริมาณน้อยมาก เฉลี่ยประมาณ 3 ใน 10 ล้านโมเลกุลอากาศ แม้ว่าจะมีปริมาณเล็กน้อยแต่มีบทบาทสำคัญในบรรยากาศมาก โดยปกติพบมากใน 2 บริเวณคือร้อยละ 90 พบในชั้นบรรยากาศ สตราโตสเฟียร์ที่ความสูงประมาณ 8 ถึง 50 กิโลเมตรพบโอโซนหนาแน่นที่ประมาณ 15 - 35 กิโลเมตร เรียกว่า ชั้นโอโซน ส่วนที่เหลือร้อยละ 10 พบที่บริเวณชั้นล่างลงมาคือชั้นโทรโพสเฟียร์ ดังภาพ

ข้อ  4
การสังเคราะห์ (อังกฤษ:Protein biosynthesis(Synthesis)) เป็นกระบวนการสร้างโปรตีนที่เกิดขึ้นใน เซลล์ กระบวนการสร้างโปรตีนมีหลายขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ ทรานสคริปชั่นและจบที่ ทรานสเลชั่น การสังเคราะห์โปรตีนโดยทั่วไปถึงแม้จะเหมือนกันแต่ก็มีความแตกต่างกันในระหว่าง โปรแคริโอต และ ยูแคริโอต

 ทรานสคริปชั่น

ในขั้นตอนทรานสคริปชั่นสิ่งจำเป็นต้องใช้คือ DNA เพียงหนึ่งเส้นจากสองเส้นคู่ที่ไขว้กัน ซึ่งเรียกว่า เกลียวรหัส (coding strand) ทรานสคริปชั่นเริ่มที่เอนไซม์ อาร์เอ็นเอ พอลิเมอเรส (RNA polymerase) เชื่อมต่อกับ DNAตรงตำแหน่งเฉพาะซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เรียกว่า โปรโมเตอร์ (promoter) ขณะที่ อาร์เอ็นเอ พอลิเมอเรส เชื่อมต่อกับโปรโมเตอร์ แถบเกลียว DNA ก็จะเริ่มคลายตัวและแยกออกจากกัน
ต่อไปเป็นกระบวนการที่สองที่เรียกว่า อีลองเกชั่น (elongation) อาร์เอ็นเอ พอลิเมอเรสจะเคลื่อนตัวตลอดแนวแถบเกลียว DNA เพื่อสำเนารหัส DNAและได้เป็นแถบเกลียวรหัสที่เรียกว่าเมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอ (messengerRNA หรือ mRNA)นิวคลิโอไทด์ ซึ่งมีรหัสข้อมูลตรงข้ามกับ DNA

ข้อ  1
1. ผนังเซลล์ (Cell Wall ) เซลล์ทั่วไปประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นหลัก ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกัน
อันตรายให้แก่เซลล์พืช ให้เซลล์คงรูปเพิ่มความแข็งแรง เซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์ แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสาร
เคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ มีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวก
ไกลโคโปรตีน
(Glycoprotein)  เซลล์พวกไดอะตอม มีสารเคลือบเป็นพวก ซิลิกา สารเคลือบเหล่านี้มีประโยชน์ทำให้
เซลล์คงรูปร่างได้


                2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุม
ปริมาณ และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ และมีรูเล็ก ๆ เพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้ และไม่ให้สารบาง
อย่างผ่านเข้าออกจากเซลล์ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อบางๆ
(Semipermeable Membrane)


                3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอยู่ภายในเซลล์ มีสารที่ละลายน้ำได้
เช่น โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ ฯลฯ ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญหลายชนิด ดังนี้

3.1 ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะยาวรีเป็นแหล่งผลิตสาร
ที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์
                3.2 คลอโรพลาส (Chloroplast)
เป็นโครงสร้างพบเฉพาะในเซลล์พืช มองเห็นเป็นสีเขียว
เพราะมีสารพวกคลอโรฟิลล์ ซึ่งไม่ดูดกลืนแสงสีเขียว คลอโรฟิลล์เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์
ด้วยแสง

3.3 ไรโบโซม (Ribosome) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์
โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์
               
3.4 กอลจิคอมเพลกซ์ (Golgi Complex)
เป็นโครงสร้างที่เป็นถุงแบน ๆ คล้ายจานซ้อน
กันเป็นชั้น ๆ หลายชั้น ทำหน้าที่สร้างสารคาร์โบไฮเดรตที่รวมกับโปรตีน แล้วส่งออกไปใช้ภายในเซลล์

3.5 เซนตริโอล (Centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ และโพรติสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับ
การแบ่งเซลล์

3.6 แวคิวโอล (Vacuole) เป็นโครงสร้างที่มีช่องว่างชนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ภายในมีสาร
พวกน้ำมัน ยาง และแก๊สต่าง ๆ

4. นิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงการเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียส ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ด
เลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ลำเลียงอาหารของพืช เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส
                นิวเคลียสทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์ ส่วนประกอบ
ของนิวเคลียสมีดังนี้

                4.1 นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) เป็นของเหลวภายในนิวเคลียส เป็นส่วนที่ใส ไม่มีสี
ประกอบด้วยเม็ดสารเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
               
4.2
ร่างแหนิวเคลียส มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแห เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว ร่างแหนิวเคลียส
จะเปลี่ยนเป็นร่างแหโครโมโซม ซึ่งประกอบด้วย DNA หรือยีน (gene)
ซึ่งมีสารพันธุกรรมประกอบอยู่ และเป็นตัวควบคุม
การแสดงออกถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
               
4.3 นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมีบนไครโมโซม ประกอบด้วยสารประเภท DNA
TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกลไกการสร้างโปรตีน

ข้อ  1
สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic solution) X>4qL'b:z
         ]c~W$h+F
         หมายถึง สารละลายภายนอก เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายใน |h* rkLY
เซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้นํ้าภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง 'jj|bN
เป็นผลทำให้ซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งขึ้น ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนที่ออกจากเซลล์เหมือนกันแต่ ]o3K
น้อยกว่าเคลื่อนที่เข้าเซลล์ ผลจากการที่น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์แล้วทำให้เซลล์เต่ง $BUm,
เรียกว่า plasmoptysis ZYo?b"6A
        ในเซลล์พืชจะมีผนังเซลล์ที่หนา แข็งแรง ถึงเกิดแรงดันเต่งมาก ๆ ผนังเซลล์ก็ยังต้านทานได้ TAp8x
เรียว่า wall pressure แรงดันเต่งช่วยให้เซลล์พืชรักษารูปร่างได้ดี เช่น ใบกางได้เต็มที่ ยอดตั้งตรง L5 Q^cY]p
         ในเซลล์สัตว์์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้า้ำน้ำออสโมซิสเข้าไปมากอาจทำให้เซลล์แตกได้ เช่น %=`wN^3t2
เซลล์เม็ดเลือดแดง เรียกปรากฏการณ์ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกว่า haemolysis )zK@@E 


ข้อ  3
เพพซิน (Pepsin) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยย่อยสารอาหารประเภทโปรตีน (จากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์) ให้เป็นเพปไทด์ (โปรตีนที่มีโมเลกุลเล็กลง)ทำหน้าย่อยเพปไทด์ให้เป็นโพลีเปปไตด์ ซึ่งทริปซินสร้างจากตับอ่อน แล้วก็จะถูกส่งไปที่ลำไส้เล็ก โดยจะมีเอมไซม์ เปปติเดสที่จะย่อยโพลีเปปไตด์เป็นโมเลกุลที่เล็กลงคือ กรดอะมิโน

ข้อ  1
สารในปัสสาวะ
ปริมาณเป็นกรัมต่อวัน
ยูเรีย
เกลือแกง
กรดฟอสฟอริก
โพแทสเซียม
กำมะถัน
กรดยูริก
แอมโมเนีย
30
15
3.5
2.0
1.2
0.8
0.6
ข้อ  4
       ปลา จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร ยกเว้นปลาจำพวกปลาฉลาม
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว โลมา วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและปลาวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย

ข้อ  3
คอนแทรกไทล์แวคิวโอล (Contractile Vacuole) ของโปรโตซัว
           โปรโตซัวและสัตว์หลายเซลล์ชั้นต่ำบางชนิด ไม่มีอวัยวะทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่เป็นของเหลว ของเสียดังกล่าวสามารถซึมผ่านผิวเซลล์ออกสู่น้ำที่อยู่นอกตัวมันได้โดยตรงอย่างไรก็ตาม มีเซลล์เดียวหลายชนิดที่มีโครงร่างในเซลล์เรียก คอนแทรกไทล์แวคิวโอล ทำหน้าที่สำหรับขจัดของเสียที่เป็นของเหลวจากเซลล์  โดยดูดของเหลวที่เป็นของเสียมาสะสมเอาไว้  และเมื่อมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยไปจนถึงขีดหนึ่ง จะบีบตัวขับของเหลวในแวคิวโอลออกสู่ภายนอกเซลล์ ดังนั้น คอนแทรกไทล์แวคิวโอล จึงทำหน้าที่กำจัดน้ำที่มีมากเกินต้องการออกนอกร่างกาย และบางส่วนของของเสียที่เกิดจากเมตาโปลิซึมของโปรตีนก็อาจขับออกทางนี้ได้ด้วย

           คอนแทรกไทล์แวคิวโอลพบมากในโปรโตซัวที่อยู่ในน้ำจืดซึ่งจำเป็นจะต้องขจัดน้ำที่ร่างกายดูดเข้ามาจากภายนอกโดยวิธีออสโมซิส เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์ให้คงที่อยู่ได้ อัตราการบีบตัวของคอนแทรกไทล์แวคิวโอลขึ้นอยู่กับความดัสออสโมซิสของน้ำที่สัตว์นั้นอาศัยอยู่ กล่าวคือ อัตราการบีบตัวจะลดต่ำลง ถ้าความดันออสโมซิสของน้ำที่มันอาศัยอยู่เพิ่มขึ้น แต่จะเร็วขึ้นถ้าความดันออสโมซิสของน้ำลดลง

อธิบาย  1
 ในร่างกายคนมีน้ำอยู่ประมาณ 65%- 70% ซึ่งร่างกายจะต้องรักษาดุลยภาพนี้ไว้ การรักษาดุลยภาพของน้ำในร่างกายทำได้โดยการควบคุมปริมาตรน้ำที่รับเข้าและที่ขับออกจากร่างกาย ซึ่งมีช่องทางและผ่านกระบวนการต่างๆ
ตาราง แสดงปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับและร่างกายขับออกใน 1 วัน
             ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ             ปริมาณน้ำที่ร่างกายขับออก                 1. จากอาหาร 1,000 cm3                                        1. ลมหายใจออก 350 cm3
                 2. จากน้ำดื่ม 1,200 cm3                               2. ขับเหงื่อ 500 cm3
                 3. จากปฏิกิริยาในร่างกาย 300 cm3                 3. ปัสสาวะ 1,500 cm3
                                                                                4. อุจจาระ 150 cm3

              รวม 2,500 cm3                           รวม 2,500 cm3

ในของเหลวที่ร่างกายรับเข้าและที่ขับออกมานั้น นอกจากจะประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ ยังมีเกลือแร่และสารต่างๆ อยู่ด้วย แม้ว่าสารเหล่านี้จะมีปริมาตรน้อยนิดเมื่อเทียบกับปริมาตรของน้ำ แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง และร่างกายต้องรักษาสมดุลต่างๆ ดังกล่าวไว้ให้ได้เพื่อให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างปกติ อวัยวะสำคัญในการรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆ ในร่างกายคือไต ซึ่งมีโครงสร้างและการทำงานร่วมกับอวัยวะอื่น

 อธิบาย  3
ประโยชน์สำหรับลูกน้อย
     นอกจากสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนในนมแม่ที่คุณแม่ได้มอบให้ลูกน้อย นมแม่ถือได้ว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์สำหรับพัฒนาการรอบด้านของลูกด้วย นมแม่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ นอกจากนี้นมแม่สามารถย่อยได้ดีกว่านมวัว
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัวให้ทารก ช่วงเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน นมแม่ช่วยลดโอกาสการเกิดปฏิกิริยาแพ้นมวัว หรือการติดเชื้อแบคทีเรียจากการชงนมผสมที่ไม่ถูกสุขลักษณะด้วย นอกจากนี้นมแม่ถือว่าเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีตามธรรมชาติ เพราะในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกันที่ดี
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ทางด้านจิตใจด้วย ลูกน้อยมีโอกาสใกล้ชิดกับแม่ ได้รับความอบอุ่นจากแม่ ได้ยินเสียงและได้มองหน้าแม่


ที่มา  http://www.wyethnutrition.co.th/$$Benefits.html?menu_id=127&menu_item_id=5


 อธิบาย  2
วัคซีนโปลิโอชนิดหยอด
            วัคซีนโปลิโอชนิดหยอดเป็นวัคซีนเชื้อเป็น เตรียมจากไวรัสโปลิโอที่มีชีวิตนำมาทำให้อ่อนฤทธิ์ลง แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นได้ ใช้โดยการหยอดใส่ปาก ซึ่งเป็นการเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่บริเวณเยื่อบุลำคอและลำไส้อย่างรวดเร็วและอยู่ได้นาน วัคซีนชนิดนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยป้องกันการติดเชื้อและยับยั้งการระบาดของโรค

            วัคซีนโปลิโอชนิดหยอดเป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กไทย แนะนำใช้ในเด็กทุกคนเมื่ออายุ 2, 4, 6, 18 เดือน และ 4-6 ปี


ที่มา  http://www.clinicdek.com/index.php?option=com_content&task=view&id=528&Itemid=42
 อธิบาย  3
การเกิดเซลล์สืบพันธุ์ในสัตว์
 
แผนภาพแสดงการแบ่งตัวของเซลล์แม่จนได้เซลล์สืบพันธุ์
สัตว์ประเภทต่างๆ จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์โดยตรงด้วยการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสด้วยอวัยวะที่เรียกว่าต่อมบ่งเพศ (gonad) สัตว์สปีชีส์หนึ่งๆ ที่ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศมีรูปแบบการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
ถึงแม้ใช้อวัยวะที่แตกต่างกันแต่กระบวนการนั้นยังมีรูปแบบที่เหมือนกัน กล่าวคือ เซลล์ตั้งต้นจะเรียกว่าแกมีโทโกเนียม (gametogonium) จะแบ่งตัวแบบไมโทซิสเข้าสู่ช่วงแกมีโทไซต์ระยะแรก (primary gametocyte) และแบ่งตัวแบบไมโอซิสเข้าสู่แกมีโทไซต์ระยะที่สอง (secondary gametocyte) แล้วแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสอีกครั้งจนได้แกมีทิด (gametid) จำนวน 4 เซลล์ต่อเซลล์แม่ 1 เซลล์ สุดท้ายแกมีทิดจะเจริญไปเป็นสเปิร์มหรือไข่ ซึ่งเป็นแกมีต (gamete) ในขั้นตอนสุดท้าย พอสรุปได้ดังนี้
ประเภทเซลล์จำนวนโครโมโซม*โครมาทิดกระบวนการ
แกมีโทโกเนียมดิพลอยด์/462Nไมโทซิส
แกมีโทไซต์ระยะแรกดิพลอยด์/464Nไมโอซิส 1
แกมีโทไซต์ระยะที่สองแฮพลอยด์/232Nไมโอซิส 2
แกมีทิดแฮพลอยด์/231N
แกมีตแฮพลอยด์/231N

ที่มา   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C


 อธิบาย  4
สารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรมในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นสูง ซึ่งพบได้จาก นิวเคลียสของเซลล์ เรียกรวมว่า กรดนิวคลีอิค (Nucleic acids) โดยคุณสมบัติทางเคมีแบ่ง กรดนิวคลีอิคลงได้เป็นสองชนิดย่อย คือ อาร์เอ็นเอ (RNA - Ribonucleic acid) และ ดีเอ็นเอ (DNA - Deoxyribonucleic acid) สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่มีสารพันธุกรรมเป็น ดีเอ็นเอ, ยกเว้น ไวรัสบางชนิดเป็น อาร์เอ็นเอ (ไวรัสส่วนมาก มีสารพันธุกรรมเป็น ดีเอ็นเอ)
รหัสบนสารพันธุกรรม หากมีการถอดรหัส (Transcription) ออกมาได้ เรียกรหัสส่วนนั้นว่า ยีน (Gene)


   ที่มา   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1


 อธิบาย  3
     ลักษณะทางพันธุกรรมที่ได้รับความสนใจศึกษามากกลุ่มหนึ่ง  คือลักษณะความผิดปกติทางพันธุกรรมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผิดปกติหรือโรคที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม  จะช่วยในการวางแผนด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันและบำบัดรักษาความผิดปกติเหล่านี้ได้


ที่มา   http://km.vcharkarn.com/other/mo6/56-2010-07-14-09-20-24


 อธิบาย  3
คือ โรคซีดชนิดหนึ่งที่เป็นกันในครอบครัวหรือที่เรียกว่า โรคกรรมพันธุ์มีการสร้างสาร ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดแดง ลดน้อยลง เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติและแตกง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ผู้ที่เป็นโรคนี้ ได้รับยีนที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติมาจากทั้งพ่อและแม่
   ยีน คือ หน่วยพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ มนุษย์ เช่น ในมนุษย์กำหนดสี และลักษณะของ ผิว ตา และผมความสูง ความฉลาด หมู่เลือด ชนิดของฮีโมโกลบิน รวมทั้งโรคบางอย่าง เป็นต้น ยีนที่ควบคุมกำหนดลักษณะต่างๆ ในร่างกายจะเป็นคู่ ข้างหนึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อ อีกข้างหนึ่งได้รับมาจากแม่ สำหรับผู้มียีนธาลัสซีเมีย(Thalassemia) มีได้สองแบบคือ

  1. เป็นพาหะ คือ ผู้ที่มียีน หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia) พวกหนึ่งเพียงข้างเดียวเรียกว่า มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ จะมีสุขภาพดีปกติ ต้องตรวจเลือดโดย วิธีพิเศษ จึงจะบอกได้ เรียกว่า เป็นพาหะ เพราะสามารถ่ายทอดยีนผิดปกติไปให้ลูกก็ได้ พาหะอาจให้ยีนข้างที่ปกติ หรือข้างที่ผิดปกติให้ลูกก็ได้
  2. เป็นโรค คือ ผู้ที่รับยีนผิดปกติ หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซี เมียพวกเดียวกันมาจากทั้งพ่อและแม่ ผู้ป่วยมียีนผิดปกติทั้งสองข้าง และถ่ายทอดความผิดปกติข้างใดข้างหนึ่งต่อไป ให้ลูกแต่ละคนด้วย


  ที่มา   http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/ri/Npublic/p04.htm


 อธิบาย  1

โครโมโซมเพศ
sex chromosomes

     โครโมโซมของคน 23 คู่นั้น เป็น ออโตโซม 22คู่ อีก1คู่เป็น โครโมโซมเพศ
  • ในหญิงจะเป็นแบบ XX
  • ในชายจะเป็นแบบ XY
โครโมโซม Y มีขนาดเล็กมียีนอยู่เล็กน้อย ได้แก่ ยีนที่ควบคุมขนบนใบหูก็อยู่บนโครโมโซม Y ดังนั้นลักษณะการมีขนบนหูจะถูกถ่ายทอดโดยตรง จากพ่อ ไปยัง ลูกชาย สืบต่อไปยัง หลานชาย และ สืบต่อไปเรื่อยๆในทายาทที่เป็นชาย ดังนั้น การมีขนที่หูจึงไม่ปรากฎในลูกสาวหรือ หลานสาว
เมื่อเทียบกับ ออโตโซมแล้ว โครโมโซมYคือยีนเด่น(ทำให้มีเพศเป็นชาย) ส่วน โครโมโซมX คือยีนด้อย ต่างกันที่ว่าการจับคู่แบบ YY (เด่นพันธุ์แท้) ไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย เนื่องจากคนที่เป็นชายกับคนที่เป็นชายไม่สามารถ ปฎิสนธิ ให้กำเนิดชีวิตใหม่ได้
มีลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างที่ อยู่บนโครโมโซม X ได้แก่ ตาบอดสี เลือดใหลไม่หยุด(haemophilia) หัวล้าน ( รวมทั้ง ความเป็นเกย์ ด้วยซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ q28 ของ โครโมโซม X)
ผู้ชายมี โครโมโซม X เพียงแท่งเดียว ส่วนอีกแท่งเป็น โครโมโซม Y ดังนั้นแม้ได้รับยีนด้อยที่ผิดปกติติดมากับ โครโมโซม X เพียงตัวเดียว ก็สามารถแสดงลักษณะทางพันธุกรรมนั้นออกมาได้ ส่วนผู้หญิงมี โครโมโซม X อยู่ 2 แท่ง ถ้าได้รับยีนด้อยที่ผิดปกติติดมากับ โครโมโซม X 1 แท่ง ก็จะยังไม่แสดง อาการของโรคพันธุกรรมให้ปรากฏ ทั้งนี้เพราะยีนปกติที่เหลืออีกตัวจะข่มลักษณะด้อยเอาไว้ ดังนั้นเราจะพบอาการหัวล้าน, ตาบอดสี ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
การที่ลูกจะเป็นชายหรือหญิงนั้นขึ้นอยู่กับ โครโมโซมเพศที่ได้รับจากพ่อ เนื่องจาก แม่ให้ได้เฉพาะ โครโมโซม X ถ้าลูกได้รับโครโมโซม Y จากพ่อก็จะเป็นลูกชาย ถ้าได้รับโครโมโซม X จากพ่อก็จะเป็นลูกสาว
ในลูกชายนั้นจะได้รับ โครโมโซม Y จากพ่อเท่านั้น ( เพราะแม่ไม่มีโครโมโซม Y ) เพราะฉะนั้น โครโมโซม X ก็จะได้รับจากแม่เท่านั้น ดังนั้น หากลูกชาย ตาบอดสี , เลือดใหลไม่หยุด , เป็นเกย์ แสดงว่าแม่มี ลักษณะนั้นๆแฝงตัวอยู่ใน โครโมโซม X อย่างน้อย1ตัว ของแม่
หากชายที่ ตาบอดสี , เป็นเกย์ , เลือดใหลไม่หยุด มีลูกสาว ลักษณะนั้นๆก็จะแฝงไปยัง โครโมโซม X 1ตัว ที่ได้ถ่ายทอดไปยังลูกสาวอย่างแน่นอน


    ที่มา   http://xq28.org/index.php?option=com_content&view=article&id=1:genetic&catid=1:xq28&Itemid=2



 อธิบาย  1
      การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของคน ทำได้โดยการสืบประวัติครอบครัวซึ่งมีลักษณะที่ต้องการศึกษาหลายๆชั่วอายุคน ดังที่นักเรียนทำในกิจกรรม 4.1 จากนั้นนำมาเขียนแผนผังแสดงบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดลักษณะที่ศึกษาเรียกแผนผังดังกล่าวว่า เพดดิกรี(pedigree)โดยใช้สัญลักษณ์แทนบุคคลต่างๆทั้งผู้ที่แสดงและไม่แสดงลักษณะที่กำลังศึกษา หากลักษณะใดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพดดิกรีจะช่วยให้สังเกตเห็นแบบแผนการถ่ายทอดได้ง่ายขึ้น และอาจช่วยให้บอกได้ว่าลักษณะนั้นๆ เป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะด้อย เป็นลักษณะพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับเพศใดเพศหนึ่งเป็นพิเศษหรือไม่  นักเรียนจะได้ศึกษาตัวอย่างเพดดิกรีของลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ต่อไป
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนเพดดีกรี


         ลักษณะทางพันธุกรรมที่ได้รับความสนใจศึกษามากกลุ่มหนึ่ง  คือลักษณะความผิดปกติทางพันธุกรรมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผิดปกติหรือโรคที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม  จะช่วยในการวางแผนด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันและบำบัดรักษาความผิดปกติเหล่านี้ได้
                           
                                                  

      ที่มา   http://km.vcharkarn.com/other/mo6/56-2010-07-14-09-20-24

              
 อธิบาย  3
สรุปจากสิบกรณี ข้างบนมาให้ดูง่ายๆคือ
คนหมู่เลือด A +A      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B       = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
คนหมู่เลือด A+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด B+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด AB+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B
คนหมู่เลือด A+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
คนหมู่เลือด B+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O


     ที่มา   http://www.thaikidclinic.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=471368&Ntype=6

2 ความคิดเห็น:

  1. ...ประเมินตัวเองนะคะ...
    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5. ลงคะแนนเต็ม 200 คะเเนน ได้คะเเนน 195 คะเเนน

    ตอบลบ
  2. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้

    1.ทำครบตามที่กำหนดข้อละ 2 คะแนน เต็ม 40 ได้ 40 คะแนน
    2.มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน เต็ม 20 ได้ 20 คะแนน
    3.บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน เต็ม 40 ได้ 40 คะแนน
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็น เต็ม 100 ได้ 95 คะแนน

    รวมคะแนนเต็ม 200 คะแนน
    ให้ธิดาทิพย์ 195 คะแนน

    ตอบลบ